วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

Woodcut = ภาพพิมพ์แกะไม้

ภาพพิมพ์แกะไม้ (ภาษาอังกฤษ: Woodcut) คือศิลปะการพิมพ์แบบนูน (relief printing) โดยที่ภาพที่จะพิมพ์ใช้แกะบนผิวไม้ก่อน ส่วนที่จะปรากฏบนภาพพิมพ์จะเป็นระดับเดียวกับหน้าไม้ ส่วนอื่นที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ก็แกะลึกลงไปด้วยสิ่วร่อง ส่วนที่จะให้เป็น “สีขาว” ก็แกะออกไปด้วยมีดหรือสิ่วหน้าแบน เหลือไว้แต่ตัวแบบหรือรูปที่เป็น “สีดำ” ระดับเดียวกับพื้นผิวของหน้าไม้ รูปที่แกะจะแกะตามยาวของเนื้อไม้ซึ่งต่างจากการภาพพิมพ์ลายแกะไม้ (wood engraving) ในยุโรปไม้ที่ใช้จะเป็นไม้บีช ส่วนในประเทศญี่ปุ่นจะใช้ไม้เชอร์รี

เมื่อต้องการพิมพ์ก็จะทาส่วนพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งมือ ทำให้หมึกเกาะบริเวณที่ต้องการจะพิมพ์แต่ไม่เกาะบนส่วนอื่นๆ ของพิมพ์ที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ การพิมพ์หลายสีก็ใช้พิมพ์ไม้หลายพิมพ์แต่ละสีก็จะใช้พิมพ์ต่างจากสีอื่น

ศิลปะการแกะไม้สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้เรียกว่า “การแกะพิมพ์สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้” (xylography) แต่มักจะไม่ใช้กันในการแกะที่แกะเฉพาะแต่ภาพแต่จะใช้สำหรับการแกะพิมพที่มีทั้งตัวหนังสือและภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น