ภาพพิมพ์เทคนิควัสดุปะติด ( Colograph )
จัดอยู่ในกระบวนการภาพพิมพ์จากส่วนร่อง การสร้างแม่พิมพ์เกิดจากการนำเอาเศษวัสดุที่มีลายผิวต่าง ๆ มาปะติดบนแม่พิมพ์เช่น ส่วนการพิมพ์สามารถพิมพ์ได้ทั้งผิวส่วนนูนและสามารถพิมพ์ร่วมกับพื้นผิวจากส่วนร่องได้ด้วย
วัสดุอุปกรณ์
กระดาษชานอ้อย สำหรับทำแม่พิมพ์นี้ต้องมีแข็งแรง ไม่บางและหนาจนเกินไป
กาวสำหรับยึดวัสดุให้ติดกับพื้นรอง
วัสดุที่มีพื้นผิวแบบต่าง ๆ เช่น กระสอบ ใบไม้ ผ้าลูกไม้ กระดาษทราย เป็นต้น
สเปร์สีขาวหรือแล็คเกอร์สำหรับเคลือบผิววัสดุ
สีพลาสติกสีขาว
ขั้นตอนการสร้างแม่พิมพ์
1.นำแบบร่างมาร่างโครงสร้างลงบนกระดาษชานอ้อย
2. ตัดเศษวัสดุมา ปะ ติดลงในส่วนโครงสร้างให้ได้ใกล้เคียงกับแบบร่าง
3.เมื่อแม่พิมพ์แห้งสนิทให้นำเอาแม่พิม์ไปเข้าแท่นพิมพ์เพื่อรีดให้วัสดุติดกับแม่พิมพ์
4.นำสีพลาสติกสีขาวที่ผสมกาวและน้ำในอัตราส่วน น้ำ 1 ส่วน กาว1 ส่วน สี 1 ส่วน ทาลงบนแม่พิมพ์ และทิ้งไว้ให้แห้ง สีพลาสติกจะช่วยรักษาแม่พิมพ์ให้มีความแข็งแรงมากขึ้น
5.พ่นสีสเปร์บนแม่พิมพ์เพื่อรักษาแม่พิมพ์ให้แข็งแรงและยังช่วยป้องกันไม่ให้แม่พิมพ์ดูดซับหมึกและง่ายต่อการล้างทำความสะอาดแม่พิมพ์
การพิมพ์
ในการพิมพ์เทคนิคนี้สามารถพิมพ์ได้ 3 แบบ ดังนี้
การพิมพ์จากส่วนนูน
- นำสีมากลิ้งบนแม่พิมพ์ สีจะติดบริเวณผิวส่วนบนของวัสดุ
- นำไปเข้าแท่นพิมพ์
การพิมพ์จากส่วนร่อง
- นำหมึกพิมพ์มาอุดลงบนแม่พิมพ์
- เช็ดหมึกที่ติดอยู่บนผิวส่วนบนและผิวส่วนร่องที่ไม่ต้องการออกด้วยผ้าสารูหรือผ้าขาวบางและเช็ดหมึกครั้งสุดท้ายด้วยกระดาษลอกลาย
- เตรียมกระดาษพิมพ์งานโดยทำการชื้นกระดาษ
- นำไปพิมพ์ตามขั้นตอนการพิมพ์
การพิมพ์ผสมทั้งการพิจากส่วนนูนและส่วนร่อง
- เป็นการพิมพ์จากพื้นผิวส่วนบนและส่วนร่องให้ปรากฏในผลงาน
ตัวอย่างผลงาน (ของนิสิตสาขาทัศนศิลป์ วิชาเอกศิลปะภาพพิทพ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น