วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

Silksceen

Silksceen

หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า Serigraph วิธีการที่ง่ายที่สุดของเทคนิคนี้ก็คือ ศิลปินจะกันส่วน
ต่างๆที่ไม่ต้องการให้เกิดภาพของแม่พิมพ์ที่ขึงจากตะแกรงผ้า (ส่วนใหญ่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ที่มี
คุณภาพ คล้ายผ้าไหม) ขึงบนกรอบเฟรม จากนั้นหมึกพิมพ์จะถูกปาดด้วยยางปาดผ่านแม่พิมพ์ลงสู่
กระดาษด้านล่าง โดยหมึกจะสามารถผ่านพื้นที่แม่พิมพ์ที่ไม่ได้ถูกกันเท่านั้นลงปรากฎบนกระดาษเป็น
ภาพ งานซิลค์สกรีนที่ใช้หลายๆสี สามารถทำได้โดยการพิมพ์ผ่านแม่พิมพ์หลายแม่พิมพ์ คือแม่พิมพ์
์แต่ละแม่พิมพ์สำหรับสีแต่ละสี นอกจากวิธีนี้ศิลปินสามมารถเขียนภาพลงบนแผ่นฟิล์มใสด้วยหมึกที่มี
ีความทึบแสง หรือแสงไม่สามารถส่องผ่านได้ ถ้าเป็นงานภาพพิมพ์สี ศิลปินจะ ต้องแยกสีโดยการ
เขียนแยกลงบนแผ่นฟิล์มแต่ละแผ่น ซึ่งต้องทับซ้อนให้พอดีกัน จากนั้นภาพบนฟิล์มจะถูกถ่าย ทอดลง
บนแม่พิมพ์โดย กระบวนการฉายแสง คือใช้น้ำยาไวแสงผสมกับกาวอัดเคลือบให้ทั่วแม่พิมพ์ นำแผ่น ฟิล์มที่เขียนไว้วางทับแม่พิมพ์ แล้วนำไปฉายด้วยแสงไฟ จากนั้นนำไปฉีดน้ำ พื้นที่ที่ศิลปินไม่ได้เขียน
ด้วยหมึกทึบแสงจะถูกกันไว้ด้วยน้ำยาไวแสงที่แข็งตัวและติดแน่น เมื่อนำไปพิมพ์หมึกพิมพ์จะไม่
สามารถผ่านได้ การพิมพ์เทคนิคนี้เริ่มแพร่หลายในยุโรป เมื่อปลายทศวรรษที่ 1940 นี้เอง

ตัวอย่างผลงานของศิลปิน (ชัยวุฒิ ร่วมฤดีกูล )






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น